วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ยานอวกาศ

เรื่อง ยานอวกาศ
  ยานอวกาศ
        ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่นำมนุษย์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติขึ้นไปสู่อวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ               สำรวจโลกหรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น ยานอวกาศมี 2 ประเภท คือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม และยานอวกาศที่ไม่มี           มนุษย์ควบคุม  
        ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม (Manned Spacecraft) มีขนาดใหญ่ เพราะต้องมีปริมาตรพอที่มนุษย์อยู่อาศัยได้ และยังต้อง             บรรทุกปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการ เช่น อากาศ อาหาร และเครื่องอำนวยความสะดวกในการยังชีพ เช่น เตียงนอน                     ห้องน้ำ  ดังนั้นยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมจึงมีมวลมาก  การขับดันยานอวกาศที่มีมวลมากให้มีอัตราเร่งสูงจำเป็นต้องใช้         จรวดที่บรรทุกเชื้อเพลิงจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมได้แก่ ยานอะพอลโล                     ( Apollo) ซึ่งนำมนุษย์ไปยังดวงจันทร์   

ภาพที่ 1 ยานอะพอลโล
             (ที่มา: 
NASA)
        ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม (Unmanned Spacecraft) มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม          ยานอวกาศชนิดนี้มีมวลน้อยไม่จำเป็นต้องใช้จรวดนำส่งขนาดใหญ่ จึงมีความประหยัดเชื้อเพลิงมาก อย่างไรก็ตามในการ          ควบคุมยานในระยะไกลไม่สามารถใช้วิทยุควบคุมได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องใช้เวลาในการเดินทาง ยกตัวอย่าง
       เช่น ดาวเสาร์อยู่ไกลจากโลกประมาณ 1 พันล้านกิโลเมตร หรือ 1 ชั่วโมงแสง  หากส่งคลื่นวิทยุไปยังดาวเสาร์ คลื่นวิทยุ
      ต้องใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง ดังนั้นการควบคุมให้ยานเลี้ยวหลบหลีกก้อนน้ำแข็งบริเวณวงแหวนจะไม่ทัน  ยานอวกาศ            ประเภทนี้จึงต้องมีสมองกลคอมพิวเตอร์และระบบซอฟต์แวร์ซึ่งฉลาดมาก เพื่อให้ยานอวกาศสามารถต้องปฏิบัติภารกิจได้
     เองทุกประการและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที  เหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ยานอวกาศที่ไม่มี              มนุษย์ควบคุมในงานสำรวจระยะบุกเบิกและการเดินทางระยะไกล เนื่องจากการออกแบบยานไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยในการ        ดำรงชีวิต ทำให้ยานสามารถเดินทางระยะไกลได้เป็นระยะเวลานานนอกเหนือขีดจำกัดของมนุษย์   ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์      ควบคุมได้แก่ ยานแคสินี (Cassini spacecraft) ซึ่งใช้สำรวจดาวเสาร์ เป็นต้น
 
ภาพที่ 2 ยานแคสสีนี
(ที่มา: NASA)
        ยุคอวกาศเริ่มขึ้นเมื่อสหภาพส่งดาวเทียมสปุตนิก1 (Sputnik 1) ขึ้นสู่อวกาศในปี พ.ศ.2500 หลังจากนั้นการแข่งขันทางอวกาศในยุคสมัยของสงครามเย็นก็เริ่มขึ้น  ดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเป็นลำดับที่ 2 ไม่ใช่ของสหรัฐอเมริกา แต่เป็นดาวเทียมสปุตนิก2 (Sputnik 2) และสุนัขชื่อ ไลก้า (Laika) ของสหภาพโซเวียต และนักบินอวกาศคนแรกของโลกเป็นเป็นชาวรัสเซียชื่อ ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) ขึ้นสู่วงโคจรโลกด้วยยานอวกาศวอสต็อก (Vostok) ในปี พ.ศ.2504  ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟเคเนดี้ จึงสนับสนุนโครงการอะพอลโลขององค์การ NASA จนนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คือ นีลอาร์มสตรอง (Neil Armstrong) โดยยานอะพอลโล11 (Apollo 11) เมื่อปี พ.ศ.2512  จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ได้ร่วมมือกันก่อสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS ขึ้นไปโคจรรอบโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 เป็นต้นมา 
 
ภาพที่ สถานีอวกาศนานาชาติ
(ที่มา: 
NASA)


10 ชื่อยานอวกาศ ที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจำ
 10 ชื่อยานอวกาศ ที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจำ

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก 
nasa.gov

          ยานอวกาศนับได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยี ซึ่งถึงแม้โครงการจะล้มเหลวไปหลายต่อหลายครั้งแต่ในที่สุดก็สามารถประสบความสำเร็จไปเยือนดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก และจากจุดนี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายโครงการต่าง ๆ ตามมา ทั้งแบบควบคุมโดยนักบินอวกาศ และควบคุมผ่านระบบสัญญาณจากพื้นโลก เพื่อไขปริศนาและความลับต่าง ๆ ที่มาที่ไปของจักรวาลแห่งนี้ ในวันนี้กระปุกดอทคอมจึงรวบรวม 10 ยานอวกาศที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับวงการดาราศาสตร์ และยังคงเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบันมาฝากกันเริ่มจาก ...
ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight01.jpg

 1. ยานอพอลโล่ (Apollo 11)
ยานอวกาศที่สร้างความตกตะลึงและกลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก หลังจากสามารถจอดลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1969 ภายใต้การนำของนีล อาร์มสตรอง และลูกเรืออีก 2 คน ประกอบไปด้วย เอ็ดวินบัซอัลดริน และไมเคิลคอลลินส์ หลังจากที่ผ่านการทดสอบโคจรรอบโลกมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ยานอพอลโล่ 1 ในปี ค.ศ. 1967 จนกระทั่งถึงอพอลโล่ 17 ในปี ค.ศ. 1972 และนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ยานอวกาศได้จอดลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนต่อจากนั้นต้องยกเลิกภารกิจไปด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งโครงการถูกปิดตัวไปในที่สุด 

 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight02.jpg

 2. ยานวอยเอเจอร์ (Voyager)
ภายใต้โครงการนี้ประกอบด้วย ยานอวกาศวอยเอเจอร์1 กับยานอวกาศวอยเอเจอร์2 ยานอวกาศแฝดคู่นี้ถูกส่งขึ้นไปทำภารกิจพร้อมกันในปี ค.ศ. 1977 โดยลำแรกใช้ในการสำรวจเรื่องของชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์ และวงแหวนของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ ส่วนลำที่สองเพิ่มระยะการเดินทาง เพื่อเก็บข้อมูลของดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูนโดยเฉพาะ ซึ่งนับได้ว่าเป็นยานอวกาศคู่แฝดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดภายใต้ภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การนาซาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1979-1989 เลยก็ว่าได้
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight03.jpg

 3. ยานไวกิ้ง (Viking)
อีกหนึ่งความสำเร็จขององค์การนาซาในการสำรวจดาวเคราะห์ที่ต่อเนื่องมาจากโครงการอพอลโล่ ซึ่งครั้งนี้เน้นการสำรวจดาวอังคารโดยเฉพาะ โดยการส่งยานไวกิ้ง1 ขึ้นไปสำรวจดาวอังคาร เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1975 และยานไวกิ้ง2 ในปีถัดมา โดยทั้งสองลำทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารมามากมายผ่านภาพสีที่ถูกถ่ายจากระยะไกล และพื้นผิวในระยะใกล้รวมกว่า 50,000 ภาพที่จัดได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีในยุคนั้นเลยทีเดียว อีกทั้งตัวยานที่ออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานเพียง 90 วัน แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ กลับสามารถปฏิบัติภารกิจได้ยาวนานถึง 6 ปีกว่า พร้อมทั้งยังเป็นต้นแบบของการนำยานลงจอดโดยใช้ร่มชูชีพและเกราะป้องกันความร้อนอีกด้วย
  ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight04.jpg



 4. ยานมาร์สเอ็กซ์พลอเรชั่น โรเวอร์ (Mars Exploration Rover)

     ภารกิจในครั้งนี้เริ่มจากการส่งยาน MER-A และ MER-B หรือที่เรียกกันว่า ยานสปิริต และ ยานออปพอร์ทูนิตี้ ไปยังดาวอังคารเมื่อปี ค.ศ. 2004 ซึ่งอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวยาน แต่กลับติดตั้งเอาไว้ในหุ่นยนต์ "โรเวอร์" และถูกส่งออกไปทำการสำรวจแทน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเพื่อค้นหาร่องรอยของน้ำบนดาวอังคาร แต่หลังจากภารกิจนี้ดำเนินอยู่หลายปี ในปี ค.ศ. 2009 ล้อของหุ่นยนต์โรเวอร์ กลับติดอยู่ในพื้นทรายบนดาวอังคาร จนต้องเปลี่ยนให้เป็นสถานีวิจัยคงที่แทน ก่อนที่จะสูญเสียการติดต่อเมื่อปี ค.ศ. 2010 เนื่องจากอาจเกิดความเสียหาย หรือเรียกว่าโหมดหลับลึก
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight05.jpg

 5.  ยานมาร์ส โกลบอลเซอร์เวเยอร์ (Mars Global Surveyor)
      เป็นโครงการสำรวจดาวอังคาร ที่ส่งยานออกไปในเดือนพฤศจิกายน ของปี ค.ศ. 1996 เพื่อโคจรรอบดาวอังคาร พร้อมทั้งทำการสำรวจและถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารอย่างละเอียด เพื่อนำไปทำแผนที่ดาวอังคาร ตรวจชั้นบรรยากาศ และวัดค่าสนามแม่เหล็ก โดยได้เปิดเผยภาพถ่ายอย่างละเอียดของใบหน้าปริศนาบนดาวอังคาร ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้มีความลึกลับแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่เพียงเนินเขาที่ถูกน้ำและลมกัดเซาะเพียงเท่านั้น โดยยานลำนี้สามารถส่งภาพจากพื้นผิวของดาวอังคารกลับมาได้มากถึง 240,000 ภาพ ดังนั้นจากเดิมที่เคยวางแผนโครงการเอาไว้แค่เพียง 2 ปี ก็ได้ถูกขยายภารกิจออกไปเป็น 4 ปี ควบคู่กับยานมาร์ส พาธ ไฟน์เดอร์
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight06.jpg


 6. ยานแคสสินี (Cassini-Huygens)
    ยานอวกาศแคสสินี-ฮอยเกนส์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1997 ยานลำนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากองค์การนาซาเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขายังได้ทำการร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและอิตาลีด้วย เพื่อออกสำรวจดาวเสาร์กับบริวารทั้ง 7 โดยเน้นไปที่การสำรวจบนไททัน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงโคจร ซึ่งถือได้ว่าเป็นยานลำแรกที่ได้เข้าใกล้กับดาวเสาร์มากที่สุดนับตั้งแต่มีมาเลยก็ว่าได้ อีกทั้งโครงการนี้ยังอยู่ภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2017 เลยด้วย
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight07.jpg

 7. ยานเมอร์คิวรี (Mercury Atlas)

สิ่งที่ทำให้ยานอวกาศในโครงการเมอร์คิวรีนี้ เป็นที่จดจำนั้นไม่ใช่แค่การปรับขนาดห้องควบคุมในยานให้บรรจุได้แค่ที่นั่งเดียว แต่จุดประสงค์หลักนั้นแตกต่างออกไปด้วย เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบความสามารถในการดำเนินชีวิตกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของคนและสัตว์ในสภาพไร้น้ำหนัก ก่อนที่จะส่งมนุษย์และยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกจริง ๆ พร้อมกับยานเมอร์คิวรี-แอตลาส6 (MA-6) ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จเป็นคนแรกคือ นักบินอวกาศสัญชาติอเมริกัน จอห์น แอช เกลนน์ จูเนีย ที่ออกเดินทางในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1962 โดยสามารถโคจรรอบโลกรวมทั้งหมด 3 รอบใช้เวลา 4 ชั่วโมง 55 นาที 
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight08.jpg

 8. ยานไพโอเนียร์ (Pioneer)
   โครงการยานอวกาศที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 จนกระทั่งสร้างปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการดาราศาสตร์ ด้วย ยานไพโอเนียร์10 และ 11 ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1972 และ ค.ศ. 1973 ตามลำดับ ซึ่งยานไพโอเนียร์10 นั้นสามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ของดาวพฤหัสบดีกลับมาได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ยานไพโอเนียร์11 มีการส่งไปเก็บภาพของดาวเสาร์ ซึ่งทำให้ค้นพบดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 2 ดวงและวงแหวนวงใหม่ของดาวเสาร์ด้วยในเวลาเดียวกัน
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight09.jpg


 9. ดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik)
    ดาวเทียมดวงแรกของโลกภายใต้การดำเนินงานของรัสเซียที่ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยเริ่มจากดาวเทียมสปุตนิก1 ที่สามารถโคจรรอบโลกได้นานถึง 92 วัน แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 96 วินาที ด้วยรูปร่างทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร น้ำหนัก 84 กิโลกรัม เพื่อทำการทดสอบการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านชั้นบรรยากาศ และภายในปีเดียวกันรัสเซียก็ได้ส่ง ดาวเทียมสปุตนิก2 ขึ้นไปพร้อมกับสุนัขอวกาศ ไลก้า ซึ่งสามารถโคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลกได้สูงถึง 1,671 กิโลเมตร และไกลกว่าดาวเทียมสปุตนิก1 เกือบสองเท่าตัว เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รัสเซียก้าวไกลกว่าผู้นำอย่างอเมริกาไปหลายขุม
 ยานอวกาศ
http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/ratthakorn/variety/spaceflight10.jpg

10. ฮับเบิล (Hubble Space Telescope)
     ถึงแม้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจะไม่ใช่กล้องโทรทรรศน์ตัวแรกของโลก และโครงการนั้นก็มีอุปสรรคในระหว่างดำเนินการมากมาย แต่ในที่สุดองค์การนาซากับองค์การอวกาศยุโรปก็สามารถส่งฮับเบิลขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้เป็นผลสำเร็จในเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1990 และเนื่องด้วยความสามารถอันหลากหลายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ ก็ทำให้การศึกษาข้อมูลในแวดวงของดาราศาตร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะพวกเขาค้นพบปรากฏการณ์สำคัญใหม่ ๆ มากมายจากภาพถ่ายความละเอียดสูง อาทิ การขยายตัวของเอกภพด้วยความเร่ง วัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ กลุ่มก๊าซที่จะก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่ใน เนบิวลานายพราน รวมไปถึงดาราจักรที่อยู่ไกลออกไปหลายพันล้านปีแสง เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นกล้องตัวแรกที่สามารถส่งคนขึ้นไปซ่อมบำรุงบนตัวยานได้อีกด้วย ทั้งนี้คาดว่าจะมีการปลดระวางฮับเบิลในปี 2014 และส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ขึ้นไปแทนที่

          



พระอาทิตย์ทรงกลด


เรื่อง   พระอาทิตย์ทรงกลด


http://files.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=2821488&stc=1&d=1377143159

 พระอาทิตย์ทรงกลด เกิดขึ้นได้อย่างไร มักเกิดในช่วงไหน แล้วทำไมคนไทยจึงมีความเชื่อว่าพระอาทิตย์ทรงกลดคือสิ่งมงคล คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว...
        บางครั้งเมื่อเราแหงนหน้ามองขึ้นไปบนท้องฟ้ากลางแดดจ้า ๆ เราอาจได้สัมผัสกับภาพรัศมีของดวงอาทิตย์แผ่ออกเป็นวงกว้างล้อมรอบดวงตะวันกลมโต ดังที่หลายคนเรียกว่า "พระอาทิตย์ทรงกลด" ซึ่งดูแล้วเป็นภาพที่งดงามไม่น้อยเลย และเมื่อเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นทีไร ปรากฏการณ์นี้ก็มักจะถูกโยงไปเข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นเสมอ พลางชวนให้คนสงสัยว่า "พระอาทิตย์ทรงกลด" คืออะไร วันนี้ ตามกระปุกดอทคอมไปหาคำตอบด้วยกันดีกว่า

 พระอาทิตย์ทรงกลด เกิดจากอะไร
พระอาทิตย์ทรงกลด (Sun Halo) เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นล่างสุด และเป็นที่อยู่ของกลุ่มเมฆจำนวนมาก รวมทั้งเมฆเซอร์รัส (Cirrus Cloud) ซึ่งเป็นเมฆที่อยู่สูงขึ้นไป 5-10 กิโลเมตร
 ทั้งนี้ ในชั้นเมฆเซอร์รัสนี้จะมีอากาศเย็นจัดตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หากอากาศในช่วงนั้นมีละอองน้ำมาก ละอองน้ำเหล่านั้นก็จะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง หรือผลึกน้ำแข็งอนุภาคเล็ก ๆ ลอยอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งเกล็ดน้ำแข็งนี้เองจะมีลักษณะคล้ายกับอัญมณี เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้วส่องแสงมาตกกระทบกับเกล็ดน้ำแข็งในมุมที่เหมาะสม ก็จะเกิดการหักเหและสะท้อนแสงออกไป ทำให้เกิดเป็นลำแสงสีรุ้งคล้ายรุ้งกินน้ำหลังฝนตกขึ้นมา กลายเป็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดที่ส่องแสงวาบออกมาจากผลึกน้ำแข็งนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม พระอาทิตย์ทรงกลดที่เราเห็นในแต่ละครั้งอาจมีแสงสีต่างกัน ซึ่งแสงสีที่ตาเราสัมผัสได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการทำมุมของแสดงอาทิตย์และเกล็ดน้ำแข็ง แต่โดยทั่วไปเราจะเห็นเป็นแสงสีเหลืองอ่อน ๆ มากที่สุด และอาจเห็นเป็นสีเขียว สีแดง สีน้ำเงินปนแดงได้บ้างตามการสะท้อนของแสงในเวลานั้น และบางครั้งเกล็ดน้ำแข็งนี้จะไปหักเหทางเดินของแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดภาพขยายขึ้น เหมือนกับที่เรามองเลนส์นูนนั่นเอง

พระอาทิตย์ทรงกลด มักปรากฏในช่วงไหน
โดยปกติแล้วพระอาทิตย์ทรงกลดเกิดขึ้นได้บ่อย แม้ว่าจะเราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็ทราบว่าส่วนใหญ่มักพบมากในปีที่มีฝนหลงฤดู หรือช่วงปลายฝนต้นหนาว เพราะในช่วงนั้นอากาศจะมีความชื้นมาก มีละอองน้ำในชั้นบรรยากาศมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นได้ 

            ทั้งนี้ เวลาที่พบพระอาทิตย์ทรงกลดได้บ่อยที่สุดคือในช่วงสาย ๆ ตั้งแต่ 10 โมงไปจนถึงเที่ยงเศษ ๆ เพราะเกล็ดน้ำแข็งยังไม่ละลาย แต่หากพ้นเที่ยงวันไป เกล็ดน้ำแข็งที่ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์จะละลายไปหมด ทำให้เราแทบไม่มีโอกาสเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงบ่ายได้เลย

            อีกเรื่องที่ต้องรู้ก็คือ หากวันนั้นเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้น จะเป็นวันที่อากาศไม่ร้อนจัด และไม่มีฝนตกลงมาปุบปับอย่างแน่นอน ยกเว้นว่ามีลมพายุพัดเมฆฝนจากที่อื่นมา


http://i.webch7.com/images/66a22b76fcf042f8a20e6fe5ec988d9b/62img_9050.jpg
พระอาทิตย์ทรงกลด

  พระอาทิตย์ทรงกลด กับความเชื่อมงคลในสังคมไทย
          สำหรับในประเทศไทยแล้ว เราอาจได้ยินข่าวพระอาทิตย์ทรงกลดปรากฏขึ้นได้อยู่บ่อย ๆ ซึ่งทุกครั้งที่เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้น ก็จะมีเสียงพูดกันปากต่อปากกันว่า วันนี้เป็นวันดี เป็นลางดี สิ่งนี้จึงถูกหยิบยกไปเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นด้วยว่า พระอาทิตย์ทรงกลดเป็นแสงแห่งชัยชนะ จะช่วยให้บ้านเมืองหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นผ่านพ้นวิกฤตได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
         หากจะถามว่าความเชื่อที่ว่าพระอาทิตย์ทรงกลดเป็นมงคลนั้นมาได้อย่างไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนไทยนับถือพระอาทิตย์เป็นเทวดาเบื้องบนองค์หนึ่ง ดังที่เราเรียกนำหน้าว่า "พระ" เช่นเดียวกับคำว่า "กลด" ที่ถือเป็นของสูงสำหรับพระ คนไทยจึงมองว่า "พระอาทิตย์ทรงกลด" เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แสดงถึงความเป็นสิริมงคล ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในเรื่องต่าง ๆ ก็เป็นได้
          อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดก็ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และทุกพื้นที่ทั่วโลกก็มีโอกาสได้สัมผัสความงดงามของปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้เช่นกัน


https://mrvop.files.wordpress.com/2010/12/peter-rosacn1_strip.jpg?w=640


ที่มา     http://hilight.kapook.com/view/
102137

แสงออโรรา


 สวัสค่าาา เรามาพบกันอีแบ้ววันนี้เรามีความรู้มาฝากเรื่อง .....
แสงออโรรา
ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/19/1/Magnetosphere_rendition.jpg
โลกเรามีสนามแม่เหล็กที่มองไม่เห็นคอยปกป้องเราจากอนุภาคเหล่านี้ ลมสุริยะพัดกระหน่ำลงบน magnetosphere ของโลกซึ่งเป็นบริเวณในอวกาศที่อนุภาคมีประจุไฟฟ้าได้รับอิทธิพลจาก สนามแม่เหล็กโลกอย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนที่อ่อนแอที่สุดก็คือบริเวณขั้วแม่เหล็กโลกทั้งสองขั้วนั่นเอง อนุภาคที่   สามารถเข้าสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนของโลกได้โดยตรงจะทำให้เกิดแสงออโรราในตอนกลางวัน อนุภาคบางส่วนเคลื่อนเข้ามาทางส่วนหางของสนามแม่เหล็กโลกซึ่งอยู่ฝั่งกลางคืนแล้วถูกผลักกลับเข้ามาทำให้เกิดแสงออโรรารอบๆขั้วแม่เหล็กโลก
http://image.dek-d.com/contentimg/2013/mint/Science/May/aro04.jpg
ปรากฏการณ์แสงออโรร่า จะเกิดขึ้นเหนือพื้นโลกประมาณ100-300 กิโลเมตร  ปรากฎ       การณ์เหล่านี้จะสามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศที่อยู่แถบขั้วโลกเหนือใต้  ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้งว่า  จะพบเจอมันได้มากหรือน้อยเพียงใด อย่างเช่นในเมือง เมือง Andenes ประเทศนอรเวย์ จะสังเกต   เห็นได้ในแทบทุกคืนที่ฟ้าโล่ง เมือง Fairbanks รัฐอลาสกา จะสังเกตเห็นได้ประมาณ 5-10 ครั้งต่อเดือนในแถบประเทศ เม็กซิโกและเมดิเตอเรเนียน จะเห็นได้1–2ครั้งใน10ปีแต่ในขณะที่บริเวณประเทศเส้นศูนย์สูตรก็อาจจะเห็นปรากฏการณ์เช่นว่านี้ได้หากพายุสุริยะมีความแรงมากพอที่จะผ่าสนามแม่เหล็กโลกและชั้นบรรยากาศโลกมาได้โดยคาดการณ์กันว่าประเทศในบริเวณเส้นศูนย์สูตรอาจจะพบกับปรากฏการณ์ดังกล่าวได้1ครั้งในรอบ2,000ปีพายุสุริยะหาใช่เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดความสวยงามอย่างเดียวแต่ผลกระทบของมันสามารถทำให้การสื่อสาร-ระบบไฟฟ้าของโลกเราแปรปรวนได้ดั่งเช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นนานร่วม9ชั่วโมงในเมืองQuebecประเทศแคนาดาเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 
สัญญาณวิทยุบนโลกอาศัยบรรยากาศระดับไอโอโนสเฟียร์เมื่อชั้นบรรยากาศนี้ถูกรบกวนก็จะทำให้เกิดความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศขึ้นได้และอาจจะถึงขั้นทำให้ดาวเทียมหรือยานอวกาศหลุดจากวงโคจรได้เหมือนกัน 


http://teen.mthai.com/wp-content/uploads/2014/05/aurora-chandalar.jpg


ขอบคุณข้อมูลจาก   
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/588-miracle-aurora
http://www.vcharkarn.com/varticle/38509